1.โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน
ในปีงบประมาณ 2558 องค์การสะพานปลาได้รับการจัดสรรงบประมาณ วงเงิน 86.76 ล้านบาท เพื่อดำเนินการปรับปรุงสุขอนามัยสะพานปลา ท่าเทียบเรือประง 4 แห่ง คือ
1.1 สะพานปลากรุงเทพ
1.2 ท่าเทียบเรือประมงชุมพร
1.3 ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
1.4 ท่าเทียบเรือประมงระนอง
2.นโยบายด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety)
องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในสินค้าสัตว์น้ำ ที่ขนถ่ายที่สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง ขององค์การสะพานปลา
โดยสุ่มตรวจสารฟอร์มาลินที่มีอาจมีการลักลอบใช้ในการรักษาความสดของสินค้าสัตว์น้ำ โดยใช้ชุดตรวจสอบขององค์การเภสัชกรรม
3.การป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการประมง IUU
องค์การสะพานปลาได้บูรณาการร่วมกับกรมประมง ในการจัดทำข้อมูลเบื้องต้น จากสะพานปลา ท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลา ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการ ดังนี้
3.1 การจัดทำเอกสาร MCPD ตามที่ได้รับมอบหมายจากกรมประมง
3.2 องค์การสะพานปลาจัดทำ Application เพื่อจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับเรือประมง ได้แก่ ชื่อเรือประมง ทะเบียนเรือ อาชญาบัตร แรงงานประมง ณ สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง
ขององค์การสะพานปลา โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันกับกรมประมง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไป
4.การปรับปรุงกฎหมาย
ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. จัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496 ให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการองค์การสะพานปลาและทันสมัยสอดรับกับกฎ ระเบียบ กฎหมาย ใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันอยู่ในการดำเนินการของกรมประมง โดยองค์การสะพานปลามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ในคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้น
5.รัฐวิสาหกิจทำการตรวจสอบ วิเคราะห์สถานะและประเมินทรัพย์สิน (Due Diligent) พร้อมทำแผนฟื้นฟูหากมีความจำเป็น
องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการจัดทำแผนบริหารทรัพย์สินปี 2559-2561 เพื่อทำการวิเคราะห์สถานะทรัพย์สิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารทรัพย์สินที่มีอยู่
โดยเฉพาะในส่วนของสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ